พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ซึ่งในวันที่ 20 กันยายนนี้เอง ที่เป็นวันคล้ายพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 วันนี้สกูปเอ็มไทย จึงนำข้อมูลพระราชประวัติอย่างย่อ ของรัชกาลที่ 5 มาฝากกันครับ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นามเต็มคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พงศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
การศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงศึกษาภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ อีกทั้งทรงรับการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศรอีกด้วย
พระราชลัญจรกรประจำพระองค์
พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. โดยมีตรา พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา และทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการเจริญรอยจำลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการ เลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ นอกจากนี้ังนำระบบความเจริญก้าวหน้าของชาติตะวันตกมาใช้พัฒนาในประเทศไทย เช่น ระบบการใช้ธนบัตรและ เหรียญบาท สร้างระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น จังหวัด อำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) เป็นต้น
สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช และเป็นวันหยุดราชการ
ที่มา https://scoop.mthai.com/specialdays/5451.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น